วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

คัดมาจาก www.maefahluang.org

o การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน มีเป้าหมายสูงสุดตามพระปรัชญาของสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี ที่ว่าต้อง "ช่วยเขาให้ช่วยตัวเอง"

รูป แบบของการพัฒนานี้ ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่า คนเราเกิดมาเท่าเทียมกัน มีศักยภาพที่จะพัฒนาและไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่ขาดโอกาสหรือทางเลือกที่ดีกว่า และคนดีย่อมส่งอิทธิผลที่ดีต่อคนข้างตัวจนขยายตัวเป็นวงกว้าง เริ่มจากคนในครอบครัว ชุมชน เมือง ประเทศและโลกในที่สุด

o การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน จึงเน้นการพัฒนาคนอย่างมีบูรณาการ เป็นขั้นเป็นตอน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ คือ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขความเจ็บป่วยก่อน เพราะคนเจ็บ ไม่มีแรงกายแรงใจทำงาน ช่วยตัวเองไม่ได้ เมื่อคนมีสุขภาพดีแล้ว จึงเน้นการแก้ไขความยากจน โดยเริ่มจากปัญหาปากท้อง เพราะถ้าคนยังอดอยาก ก็ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดแม้ต้องทำความผิด เช่น การปลูกฝิ่น และต้องแก้ปัญหาระยะยาว คือ สร้างรายได้ที่มั่นคง เพื่อไม่ให้คนหันกลับไปทำอาชีพทุจริตอีก จากนั้น จึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขความไม่รู้ เมื่อคนมีการศึกษาแล้ว ยังต้องรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา นอกจากคิดเป็น ต้องทำเป็นด้วย รู้จักให้ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ คิดถึงประโยชน์ของส่วนรวม เมื่อคนมีปัญญาจึงจะเกิดการพัฒนาที่มีคุณภาพ นำไปสู่ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ดี การพัฒนาที่บุคคลอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ สุขภาพ รายได้และการศึกษาที่ดี จะยั่งยืนได้ ต้องอาศัยการพัฒนาระดับมหภาคควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ การสร้างปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ สถานีอนามัย โรงเรียน เป็นต้น นอกจากความมั่นคงทางกายภาพแล้ว ความมั่นคงทางจิตใจจากสิทธิพื้นฐานและความยุติธรรมทางสังคม ยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนอยากร่วมพัฒนา เพราะมีความหวังในอนาคตข้างหน้า และสิ่งนี้จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ ยั่งยืน ซึ่งก็คือ การพัฒนาชุมชนที่ยากจนและอ่อนแอ มีชีวิตแบบอยู่รอดไปวันๆ หรืออยู่ในโลกที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เรียกว่า โลกแห่งความอยู่รอด "Survival World" ให้กลายเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง มีศักดิ์ศรี มีความสุข มีความรักความสามัคคีเป็นทุนสำคัญของชุมชน ทุกคนมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการพัฒนา มีสำนึกห่วงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับกระแสการพัฒนาหลักของประเทศชาติได้อย่างดี

รูป แบบของการพัฒนานี้ ยังเกิดจากความเข้าใจที่ว่า ปัญหาของการพัฒนามีความซับซ้อน ดังนั้น การวิเคราะห์ต้นตอที่แท้จริงหรือรากเหง้าของปัญหา และการมององค์ประกอบต่างๆ อย่างครอบคลุมและเชื่อมโยงมีความสำคัญเป็นอันดับต้น เพื่อให้การแก้ปัญหาตรงจุด การพัฒนาตรงตามความต้องการที่แท้จริงของชุมชน และส่งผลในระยะยาว

สำหรับโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเล็งเห็นว่าปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกพืชเสพติด หรือการค้ามนุษย์ เป็นเพียงปลายเหตุ ต้นเหตุที่แท้จริง คือ ปากท้องหรือความยากจน และขาดโอกาสในชีวิต

สำหรับโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเล็งเห็นว่าปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกพืชเสพติด หรือการค้ามนุษย์ เป็นเพียงปลายเหตุ ต้นเหตุที่แท้จริง คือ ปากท้องหรือความยากจน และขาดโอกาสในชีวิต

เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมี พระราชกระแสรับสั่งว่า "ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง" มิใช่เพียงมีพระราชประสงค์ที่จะปลูกต้นไม้บนเขาหัวโล้น แต่เพราะทรงเข้าใจและเล็งเห็นว่าทรัพยากรทางธรรมชาติจากป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีความสำคัญโดยตรงต่อความอยู่รอดและส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของ คนในพื้นที่

เนื่องจากการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ ยั่งยืน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลควบคู่กับการพัฒนาในวงกว้าง และการจัดการปัญหาที่รากเหง้า จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชเสพติดหรือพื้นที่ยากจนมีความเสี่ยงสูง

o การบริหารโครงการพัฒนาให้สัมฤทธิผล ทุกวันนี้ เป้าหมายการพัฒนาล้วนให้ความสำคัญกับความยั่งยืน หลักในการให้ความช่วยเหลือขององค์กรพัฒนาต่างๆ แทบไม่ต่างกัน แต่ปัญหาอยู่ที่การลงมือปฏิบัติ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนที่ แท้จริง

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไม่มีวิธีแก้ปัญหาสำเร็จรูป ทั้งในเรื่องการปลูกพืชเสพติด การขจัดความยากจน หรือการพัฒนา แต่ต้องการเผยแพร่รูปแบบการพัฒนาที่เกิดจากการประสบการณ์และบทเรียนกว่า 20 ปี ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าทำให้ชุมชนบนดอยตุงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้ และเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพภูมิสังคมและปัญหาต่างกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แนว ทางในการดำเนินโครงการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน มีดังนี้ สิ่งสำคัญซึ่งถือเป็นกฏข้อที่หนึ่งในการดำเนินโครงการ คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของรัฐบาล ผู้นำทุกระดับ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ โดยเฉพาะชุมชนเป้าหมาย

การ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นในโครงการ และการผูกไมตรีระหว่างผู้นำชุมชน ชาวบ้านและหน่วยงานพัฒนานี้ ต้องเกิดจากการสื่อสารอย่างใกล้ชิดและเป็นการสื่อสารสองทาง คือ หน่วยงานพัฒนาต้องทำให้ชุมชนเข้าใจจุดประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ในขณะเดียวกัน ต้องรับฟังและทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน รูปแบบการพัฒนานี้ จึงมีความสมดุลระหว่างการให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความเห็น (Bottom up) และการนำเสนอแนวทางการพัฒนาจากโครงการ (Top down) เพราะเชื่อว่าบางอย่างชุมชนย่อมรู้ดีกว่าหน่วยงาน แต่บางอย่างหน่วยงานมีประสบการณ์สูงกว่า แต่หน่วยงานพัฒนาก็ไม่สามารถรู้ทุกเรื่องและทำได้ทุกอย่าง การร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชนจึงสำคัญ นอกจากการสื่อสารที่ดี ยังต้องมีการปฏิบัติงานที่ตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในเวลานั้นๆ ทันที (Quick Hit) ควบคู่ไปด้วย การที่หน่วยงานพัฒนาให้สัญญาแล้วทำตามที่สัญญาในเวลาที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อการสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนต่อโครงการ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จระยะยาวด้วย

เมื่อชุมชนต้อง การมีส่วนร่วมในการพัฒนา วิธีการพัฒนาต้องไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ทำได้จริง มีเหตุมีผล ชาวบ้านนำไปปรับใช้เองได้ อะไรที่ชาวบ้านถนัด ทำดีอยู่แล้ว ก็ช่วยให้ดีขึ้น อะไรที่มีอยู่ในพื้นที่ ไม่ต้องพึ่งพาหาซื้อจากข้างนอก ก็พยายามพัฒนาโดยเน้นทรัพยากรตรงนั้น เริ่มจากเล็กๆ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ต้องต่อเนื่อง ให้เวลา จนชาวบ้านสามารถช่วยตนเองได้

ดัง นั้น นักพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน จะวางตนเป็นเสมือนพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและให้คำปรึกษาเท่า นั้น ยิ่งชุมชนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือเป็นเจ้าของการพัฒนาของตน เองเร็วเท่าไหร ความก้าวหน้าในการพัฒนายิ่งจะเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น และหน่วยงานก็จะสามารถถอนตัวจากพื้นที่ได้

o นำวิธีคิด-บริหารจัดการเชิงธุรกิจมาปรับใช้ จากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า หากได้โอกาส คนสามารถทำได้ หน้าที่หลักของโครงการการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน จึงเป็นการเปิดโอกาสทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของชุมชน โดยนำวิธีคิดและวิธีบริหารจัดการเชิงธุรกิจมาปรับใช้ เช่น ศึกษาข้อมูลข่าวสารของตลาด เช่น ราคาหรือรสนิยมความต้องการ เพื่อผลิตของที่ตลาดต้องการ การมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากต้นทุนที่ต่ำที่สุด ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน การศึกษาความเป็นไปได้ก่อนทำโครงการเพื่อลดความเสี่ยง หรือการวัดผลเพื่อปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น บางครั้ง ชุมชนมีทุนน้อย ขาดประสบการณ์ ไม่กล้าเสี่ยงหน้าที่ของหน่วยงานพัฒนา คือ การสร้างตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ ให้ชุมชนมั่นใจ เรียนรู้และนำไปปรับใช้

นอก จากนี้ การทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือการพัฒนาชุมชนด้วยธุรกิจ ยังช่วยเตรียมความพร้อมของชุมชนให้มีวิธีคิด พฤติกรรมและวัฒนธรรมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแข่งขันและเอาตัวรอดในโลกธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก

o พัฒนาชุมชนให้สามารถเลี้ยงตนเองได้ การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน เล็งเห็นความสามารถและความต้องการที่หลากหลายของชุมชน และให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้หญิง ผู้ชาย คนหนุ่มสาว และคนชรา การดำเนินงาน เช่น การสร้างงานสร้างรายได้ จึงพยายามตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่ม ซึ่งธุรกิจหลายด้านที่เกิดขึ้น ยังช่วยลดความเสี่ยงหากธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งล้มเหลวอีกด้วย

การพัฒนาต้องวัดผลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการทำงานมีผลโดยตรงต่อชีวิตคน การออกแบบและการดำเนินโครงการการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน จึงตั้งคำถามสำคัญว่า "ชาวบ้านจะได้อะไรจากสิ่งที่โครงการทำอยู่" ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญของโครงการอีกด้วย การวัดผลอย่างละเอียด เป็นประจำยังทำให้หน่วยงานรู้ปัญหาและปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์ความต้อง การที่เปลี่ยนไปได้อยู่เสมอ

สิ่งสำคัญอีกประหนึ่ง คือ ความเข้าใจว่าการพัฒนาต้องใช้เวลา เพราะนอกจากต้องให้เวลาคนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความคิดแล้ว ยังต้องรอให้คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพเพื่อรับช่วงการพัฒนาต่อไป ดังนั้น การให้เวลาเพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นตามความพร้อมของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญที่ โครงการส่วนมากมักมองข้ามหรือไม่สนใจ จนบางครั้งการผลักดันโครงการเพื่อให้เห็นผลเร็ว กลายเป็นอุปสรรคในระยะยาว

โครงการ พัฒนาดอยตุงฯ มีกรอบเวลาการดำเนินงาน 30 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในระยะสั้น มีระยะหวังผลเร็ว ภายใน 1-150 วัน เช่น หน่วยแพทย์และสาธราณสุขเคลื่อนที่ หรือการจ้างปลูกป่า เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนและสร้างความเชื่อมั่นในโครงการ

การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนที่ ประสบความสำเร็จ จะทำให้ชุมชนเป้าหมายสามารถรับผิดชอบการพัฒนาของตนเอง สามารถดำเนินธุรกิจให้ได้ผลกำไรและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วม เพื่อให้พวกเขาสามารถเลี้ยงตนเองและมีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น: